หนึ่งในปัญหากวนใจใครหลายคนคือ “สิวอักเสบ” ที่เป็นตัวร้ายทำลายความมั่นใจและส่งผลให้ผิวมีร่องรอยอันไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจมีคำถามต่อว่าสิวอักเสบเกิดจากอะไร ทำไมสิวจึงเกิดการอักเสบ มีความอันตรายหรือไม่?
ในบทความนี้ ทางคลินิกรมย์รวินท์ได้รวบรวมข้อมูลน่าสนใจและควรรู้เกี่ยวกับสิวอักเสบ เช่น สิวอักเสบคืออะไร? วิธีรักษาสิวอักเสบมีอะไรบ้าง? รวมถึงคำถามที่พบบ่อยต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถตอบปัญหาที่ทุกคนสงสัยได้ค่ะ
สิวอักเสบ (Inflammatory Acne) คืออะไร
สิวอักเสบ (Inflammatory Acne) หรือเรียกหนึ่งอีกชื่อว่า Papulopustular acne คือสิวที่เกิดการอักเสบจากสิ่งกระตุ้น เช่น เชื้อแบคทีเรีย, ฮอร์โมน, การใช้ยา, อาหาร หรือพันธุกรรม เป็นต้น เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บผิวบริเวณนั้น ๆ โดยลักษณะของสิวอักเสบสามารถแบ่งออกเบื้องต้นตามข้อเหล่านี้
- ตุ่มนูนสีแดงขนาดเล็ก
- ตุ่มหนอง
- สิวบวมแดงขนาดใหญ่
- สิวซีสต์
- สิวหัวช้าง
สิวอักเสบเกิดจากสาเหตุใด
สิวอักเสบเกิดจากอะไร? สาเหตุที่ทำให้สิวเกิดการอักเสบมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสภาพผิวหน้าและสิ่งกระตุ้น โดยมีสาเหตุเบื้องต้นดังต่อไปนี้
- เชื้อแบคทีเรีย
สาเหตุหลักในการเกิดสิวอักเสบมาจากเชื้อแบคทีเรีย C.acnes (Cutibacterium acnes) หรือชื่อเก่าคือ Propionibacterium acnes ที่สามารถพบได้ตามปกติบนผิวหนังคนเรา ซึ่งแบคทีเรียตัวนี้จะทำให้เกิดการผลิตไขมัน หากมีมากจนเกินไปก็จะส่งผลให้ต่อมไขมันอุดตันและเกิดสิวอักเสบ - ฮอร์โมน
ฮอร์โมนเพศชาย (Androgens) เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวอักเสบ เป็นปัจจัยที่เกิดจากสารในร่างกาย โดยฮอร์โมนนี้จะทำให้เกิดความมันบนใบหน้า ส่งผลให้สิวไม่มีหัวหรือสิวอุดตันอักเสบได้ - อาหาร
อาหารบางชนิดมีส่วนที่ทำให้เกิดสิวอักเสบได้ พฤติกรรมการกินอาหาร เช่น อาหารมัน, น้ำตาล, ขนมหวาน หรือผลิตภัณฑ์จากนมวัวนั้น เป็นอาหารของแบคทีเรีย สร้างน้ำมันส่วนเกินบนผิว ทำให้สิวอักเสบ - การใช้ยา
การใช้ยาบางชนิดที่มีสารกระตุ้นให้เกิดสิวอักเสบ ส่งผลให้ผิวบริเวณนั้นเห่อและบวมแดงได้ โดยสารเหล่านั้นได้แก่ Anabolic Steroids, Corticosteroids, Vitamin B6 และ Vitamin B12 เป็นต้น - การแกะหรือบีบสิวอักเสบ
ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการอักเสบของผิวหลัก ๆ คือการแกะ เกา หรือบีบสิว ซึ่งอาจเกิดการบีบสิวแล้วบวม ซึ่งถือเป็นการทำร้ายผิวโดยตรงอีกด้วย
บริเวณที่มักเกิดสิวอักเสบ
สิวอักเสบเป็นสิวที่เกิดจากการอักเสบของรูขุมขน (follicles) และต่อมไขมัน (sebaceous gland) ซึ่งพบได้ทั่วผิวหนังมนุษย์ ดังนั้นสิวอักเสบจึงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกจุด ไม่ใช่แค่บริเวณใบหน้า โดยอาจเกิดขึ้นบริเวณเหล่านี้
- สิวอักเสบบนใบหน้า
- สิวอักเสบที่หน้าผาก
- สิวอักเสบหน้าแก้ม
- สิวอักเสบที่คาง
- สิวอักเสบบริเวณคอ
- สิวอักเสบบนเนินอก
- สิวอักเสบที่หลัง
4 รูปแบบของสิวอักเสบ
สิวอักเสบไม่ได้มีเพียงลักษณะเดียว แต่สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบด้วยกัน บางคนอาจมีสิวอักเสบไม่มีหัว หรือบางคนก็อาจเป็นสิวอักเสบหัวหนอง ดังนั้น เราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเภทสิวอักเสบเอาไว้แล้ว ดังนี้
1. สิวอักเสบชนิดตุ่มนูนแดง (Papules)
มีขนาดไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร เป็นสิวที่พัฒนามาจากสิวอุดตัน หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อของรูขุมขนร่วมด้วย หากสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ สิวชนิดนี้จะรักษาได้ง่ายเนื่องจากเป็นสิวอักเสบบนผิวชั้นบน ควรรีบรักษาเนื่องจากหากปล่อยทิ้งเอาไว้จะกลายเป็นสิวหัวหนองค่ะ
2. สิวอักเสบหัวหนอง (Pustules)
สิวหัวหนองที่มีขนาดใหญ่กว่าตุ่มนูนแดง บริเวณหัวจะมีหนองสีขาวเหลือง โดยสิวหนองเกิดจากการที่สิวชนิดตุ่มนูนแดงเกิดอาการติดเชื้อไปสักพักจนมีหนองเกิดขึ้นใต้ผิวหนัง เป็นชนิดของสิวอักเสบที่รักษาได้ไม่ยากเช่นเดียวกับสิวอักเสบตุ่มนูนแดงค่ะ
3. สิวอักเสบแดงเป็นก้อน (Nodules)
สิวอักเสบขนาดใหญ่ที่มีสีแดง เกิดจากการที่ติดเชื้อไปถึงผิวหนังชั้นลึก อาจเกิดจากการบีบสิวอักเสบชนิดตุ่มนูนแดงแล้วทำให้แบคทีเรียหรือน้ำมันกระจายภายในชั้นผิวหนังค่ะ
4. สิวซีสต์ สิวหัวช้าง (Cysts)
สิวซีสต์คล้ายสิวอักเสบแดงเป็นก้อนแต่มีอาการติดเชื้ออักเสบมากกว่า ส่วนสิวหัวช้างก็มีลักษณะเป็นก้อนสิวขนาดใหญ่ เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงก้อนแข็ง คล้ายสิวอักเสบไม่มีหัวแต่จะรู้สึกเจ็บปวดมาก
ความรุนแรงในการเกิดสิวอักเสบ
ระดับความรุนแรงของสิวอักเสบสามารถแบ่งออกเป็น 4 ช่วงหลัก ๆ ได้แก่
- ระดับเล็กน้อย
เป็นสิวที่ยังไม่มีอาการอักเสบรุนแรง พัฒนามาจากสิวอุดตัน โดยอาจมีลักษณะเป็นสิวขนาดเล็ก จำนวนไม่มาก เช่น สิวหัวดำ, สิวหัวขาว, สิวไม่มีหัว หรือสิวหัวหนอง เป็นต้น อยู่ในระดับที่สามารถรักษาได้ง่ายค่ะ - ระดับปานกลาง
สิวตุ่มนูนแดงหรือสิวหัวหนองเป็นจำนวนมาก เช่น สิวเห่อบริเวณหน้า, สิวที่คาง, สิวที่หน้าผาก หรือบนร่างกายบริเวณอื่น ๆ ค่ะ - ระดับค่อนข้างรุนแรง
สิวอักเสบเป็นสิวหัวหนองหรือสิวอักเสบไม่มีหัวบวมแดงก้อนใหญ่ร่วมด้วย เริ่มสัมผัสแล้วรู้สึกเจ็บปวดมาก - ระดับรุนแรง
มีสิวอักเสบที่เป็นสิวหนองและสิวตุ่มขนาดใหญ่ขึ้นทั่วบริเวณและส่งผลให้รู้สึกเจ็บปวดมาก ๆ หากสัมผัส
วิธีรักษาสิวอักเสบ
การรักษาสิวอักเสบต้องทำอย่างไร? มีวิธีรักษาสิวอักเสบอย่างไรให้เห็นผลได้ชัดเจนบ้าง? รมย์รวินท์ได้รวบรวมวิธีรักษาสิวอักเสบที่เหมาะสมกับแต่ละคนเอาไว้แล้ว ดังนี้
1. การกดสิวอักเสบ
วิธีการรักษาสิวอักเสบด้วยการกดสิวนั้นควรทำด้วยตนเอง เนื่องจากอาจทำให้ทิ้งรอยสิวเอาไว้ได้ รวมถึงแบคทีเรียบริเวณสิวอักเสบอาจเกิดการกระจายตัวทำให้สิวอักเสบมีบริเวณกว้าง หรืออักเสบรุนแรงมากยิ่งขึ้น สิวบางชนิด เช่น สิวหัวช้าง, สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ หรือสิวซีสต์ก็ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการกดค่ะ
การกดสิวอักเสบควรรักษาร่วมกับการใช้ยาทาหรือยากิน โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผลลัพธ์ของการรักษาออกมาอย่างปลอดภัยและเห็นผลมากที่สุด
2. รักษาสิวอักเสบด้วยยา
- ยาทา
เรตินอยด์ (Retinoids) เป็นสารกลุ่มเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) หรือวิตามินเอ (Vitamin A) นั่นเอง สามารถพบได้ตามธรรมชาติ มีส่วนช่วยในการผลัดเซลล์ผิว, ลดการอุดตันของเคราตินใน
รูขุมขน รวมถึงลดอาการอักเสบจากแบคทีเรีย C.acnes เป็นต้นค่ะ ซึ่งยาทาในกลุ่มเรตินอยด์มีตัวอย่างดังนี้- เตรติโนอิน (Tretinoin)
- อะดาพาลีน (Adapalene)
ยังมียาชนิดอื่น ๆ ที่สามารถช่วยในการรักษาอาการสิวอักเสบ ซึ่งยาบางชนิดอาจเป็นยาอันตราย ต้องใช้งานภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น
- ยากิน
- เตตราไซคลีน (Tetracycline)
- อีริโทรไมซิน (erythromycin)
- ไอโสเตรตินอยน์ (Isotretinoin)
- ด็อกซีไซคลีน (Doxycycline)
- คลินดาไมซิน (clindamycin)
- ยาคุมกำเนิด
3. เลเซอร์สิวอักเสบ
เลเซอร์ที่ใช้ในการรักษาสิวอักเสบมักเป็นการเลเซอร์เพื่อลดรอยสิวหลังจากที่สิวอักเสบหายแล้ว โดยอาจแบ่งเป็นเลเซอร์ที่สามารถใช้รักษารอยดำรอยแดงจากสิวอักเสบ หรือรักษาหลุมสิวนั่นเอง
ป้องกันและลดการเกิดสิวอักเสบได้อย่างไร
หลายคนอาจศึกษาเพียงวิธีรักษาสิวอักเสบ แต่ความจริงแล้วเราสามารถป้องกันและลดโอกาสในการเกิดสิวอักเสบได้หากปฏิบัติตนตามข้อเหล่านี้
- ทำความสะอาดผิวหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนเป็นประจำเช้า-เย็นเพื่อลดโอกาสการเกิดสิวอักเสบจากแบคทีเรียที่อยู่บนผิว
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอาง รวมถึงสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน, น้ำหอม และพาราเบน รวมถึงสารอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นสิวอักเสบ
- งดสัมผัสบริเวณใบหน้าหรือส่วนที่เป็นสิวอักเสบ เช่น สิวบนหน้าผาก, สิวที่จมูก หรือสิวบริเวณ
ลำตัว เพื่อป้องกันไม่ให้อาการอักเสบรุนแรงขึ้น - เลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีส่วนประกอบในการทำให้เกิดการอักเสบของผิว
- ดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อให้ผิวชุ่มชื่นและลดการสร้างน้ำมันจากต่อมน้ำมันใต้ชั้นผิว ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดสิวอักเสบ
- ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเมื่อเกิดสิวอุดตันหรือสิวชนิดอื่น ๆ เพื่อไม่ให้สิวบริเวณนั้นพัฒนาการเป็นสิวอักเสบ
คำถามที่เกี่ยวกับสิวอักเสบ
1. สิวหัวช้างกี่วันหาย?
สิวอักเสบแต่ละชนิดมีระยะเวลาในการรักษาแตกต่างกันออกไป ซึ่งสิวหัวช้างถือเป็นสิวอักเสบที่มีการติดเชื้อใต้ผิวชั้นลึก ดังนั้นอาจใช้เวลาหลายเดือนที่จะหายดีค่ะ
2. สิวอักเสบไม่มีหัวกี่วันหาย?
สิวไม่มีหัวกี่วันหาย? โดยปกติแล้วสิวอักเสบไม่มีหัวจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่งจึงจะหายดี อาจขึ้นอยู่กับขนาดรวมถึงความลึกที่สิวนั้นเกิดขึ้น หากทำการดูแลตัวเองก็จะสามารถหายดีได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นค่ะ
3. สิวอักเสบหัวหนองควรบีบหรือกดไหม?
หากทำการบีบสิวหัวหนองด้วยตัวเองทำให้สิวเกิดอาการอักเสบและกระจายตัวมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากต้องการบีบหรือกดสิวอักเสบหัวหนอง ควรเข้ารับบริการในคลินิกที่มีแพทย์เฉพาะทางในการทำการรักษา เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างปลอดภัยค่ะ
4. กดสิวอุดตันแล้วอักเสบทำอย่างไรดี?
หลายคนอาจเจอเหตุการณ์กดสิวแล้วอักเสบ แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะดีขึ้น เราแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยสาเหตุของสิวอักเสบ และทำการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตรงตามที่คนไข้คาดหวังมากที่สุดค่ะ
รักษาสิวอักเสบด้วยโปรแกรม AC Clear จาก Romrawin Clinic
โปรแกรม AC Clear เป็นโปรแกรมรักษาสิวอักเสบที่ช่วยให้คุณสามารถกำจัดปัญหาสิวอักเสบกวนใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับสภาพผิวและปัญหาสิวของคนไข้แต่ละคน ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามใจมากที่สุดค่ะ
ในโปรแกรมจะมีการฉีดยาสิวอักเสบเพื่อต้องการลดปริมาณสิวอักเสบก่อนจะทำหัตถการทรีตเมนต์ P Anti Acne เพื่อสร้างสมดุลของชั้นผิวด้วยเทคโนโลยีผลักวิตามิน
อ้างอิง
Berry, J. (2020, May 13). Inflamed acne: Causes, symptoms, and remedies.
https://www.medicalnewstoday.com/articles/inflamed-acne
Cherney, K. (2019, March 8). How to Get Rid of Inflamed Acne.
https://www.healthline.com/health/inflamed-acne