ฉีดฟิลเลอร์

วิธีเช็ค! ฟิลเลอร์ปลอม อันตรายไหม? มีวิธีสังเกตอย่างไร?

ฟิลเลอร์ปลอมอันตรายไหม

เช็กให้ชัวร์! ฟิลเลอร์ปลอม อันตรายไหม? มีวิธีสังเกตอย่างไร?

  ปัจจุบันการฉีดฟิลเลอร์ กลายเป็นเทรนด์ความงาม ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน ที่ต้องการเติมเต็มและปรับรูปหน้าให้สวยงาม ดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ แต่ความนิยมที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็มาพร้อมกับปัญหาที่น่ากังวล เนื่องจากมีฟิลเลอร์ปลอมระบาดหนัก ที่แฝงตัวอยู่ในตลาดความงาม ซึ่งมักอยู่ในคลินิกที่ไม่มีมาตรฐาน ฉีดโดยแพทย์ที่ไม่ได้รับการรับรอง ทำให้ผู้รับบริการเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารที่ไม่ปลอดภัยในฟิลเลอร์ปลอม ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิดได้ เช่น เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรืออาจถึงขั้นเสียโฉมตลอดชีวิต วันนี้ รมย์รวินท์ จะมาให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับฟิลเลอร์ปลอมว่า ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร? ฟิลเลอร์ปลอมอันตรายแค่ไหน? ฟิลเลอร์ปลอมมีวิธีสังเกตอย่างไร? แล้วมีวิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้อย่างไรให้ปลอดภัย? ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของฟิลเลอร์ปลอม บทความนี้รวบรวมมาให้แล้วทุกประเด็น  

ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร? อันตรายแค่ไหน? มีวิธีตรวจสอบอย่างไร? ฟิลเลอร์ คืออะไร?

ฟิลเลอร์ (Filler) คือ สารเติมเต็มไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic Acid – HA) เป็นสารที่พบได้ตามธรรมชาติในร่างกาย มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำ ให้ชุ่มชื้น และความอิ่มฟูแก่ผิว สามารถนำมาแก้ไขปัญหาผิวได้อย่างหลากหลาย ทั้งปรับรูปหน้า เติมเต็มริ้วรอยร่องลึก และยกกระชับผิว โดยฉีดฟิลเลอร์เข้าไปยังผิวหน้า เพื่อทดแทนคอลลาเจนที่สูญเสียไปตามอายุ ทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์ เรียบเนียน และช่วยลดเลือนริ้วรอยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูง สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ไม่ทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกาย  

ฟิลเลอร์ มีกี่ประเภท?

ฟิลเลอร์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ตามลักษณะการใช้งานและระยะเวลาที่คงอยู่ในร่างกาย ได้แก่
  • Temporary Filler (ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว)
Temporary Filler หรือ ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว เป็นฟิลเลอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งผลิตจากสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกายของเราอย่าง ไฮยาลูรอนิก แอซิด (HA) ซึ่งร่างกายสามารถย่อยสลายสารนี้ได้เอง ไม่ทิ้งสารตกค้าง อีกทั้ง ยังได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงมีความปลอดภัยสูง ผลลัพธ์คงอยู่ได้ประมาณ 6 – 18 เดือน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของฟิลเลอร์
  • Semi Permanent Filler (ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร)
Semi Permanent Filler หรือ ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร เป็นฟิลเลอร์ที่มีความคงทนมากกว่าฟิลเลอร์ชั่วคราว แต่ยังไม่ถาวร โดยมีส่วนประกอบของสารสังเคราะห์ เช่น CaHA (Calcium Hydroxyapatite) หรือ PLLA (Poly-L-lactic acid) ซึ่งสามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ แต่ไม่ทั้งหมด 100% จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้ แต่สามารถคงผลลัพธ์ได้ยาวนานกว่าฟิลเลอร์แบบชั่วคราว โดยผลลัพธ์จะคงอยู่ได้ประมาณ 24 เดือน
  • Permanent Filler (ฟิลเลอร์แบบถาวร)
Permanent Filler หรือ ฟิลเลอร์แบบถาวร เป็นฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ เช่น ซิลิโคนเหลว (Liquid Silicone) หรือ พาราฟิน (Paraffin) ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการเกิดผลข้างเคียงอันตราย และยังไม่มีการรับรองความปลอดภัยจาก อย. จึงไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวได้ เช่น เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือเป็นก้อน ซึ่งยากต่อการรักษา หากเกิดปัญหาต้องทำการผ่าตัด หรือขูดออกเท่านั้น ไม่สามารถฉีดสลายได้เหมือนฟิลเลอร์ชั่วคราว   
ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร

ฟิลเลอร์ปลอมคืออะไร

 

ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร?

ฟิลเลอร์ปลอม คือ สารเติมเต็มที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้มีส่วนประกอบของสารไฮยาลูรอนิก แอซิด ซึ่งถูกผลิตขึ้นมา โดยไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อฉีดฟิลเลอร์ปลอมเข้าสู่ผิวหน้าแล้ว จะเป็นก้อนแข็ง ไม่ธรรมชาติ และไม่สามารถย่อยสลายเองได้ ทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกาย เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมมีส่วนผสมที่ไม่บริสุทธิ์ หรือมีส่วนประกอบที่ไม่เหมาะสม เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน หรือสารอื่น ๆ ที่ไม่สามารถระบุได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอันตรายตามสารพัด เช่น เกิดการอักเสบ บวมแดง ไหลเป็นก้อน หรือแม้กระทั่งการติดเชื้อ นอกจากนี้ ฟิลเลอร์ปลอมมักถูกลักลอบนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ทำให้มีราคาถูกกว่าฟิลเลอร์แท้ แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงสูงเช่นกัน เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบที่มา และคุณภาพของสารที่ใช้ได้ ซึ่งต่างจากฟิลเลอร์แท้ที่ผ่านการรับรองจาก อย. และผลิตขึ้นภายใต้มาตรฐานที่เข้มงวด ทำให้มั่นใจได้ในความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ได้หลังฉีด  
ทำไมถึงไม่ควรฉีดฟิลเลอร์ปลอม

ทำไมถึงไม่ควรฉีดฟิลเลอร์ปลอม

 

ทำไมถึงไม่ควรฉีดฟิลเลอร์ปลอม?

  • สารที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน 
ฟิลเลอร์ปลอม มักผลิตจากสารที่ไม่ได้รับการรับรองคุณภาพ และความปลอดภัยจากอย. ทำให้ไม่ทราบที่มาของส่วนประกอบที่ชัดเจน และอาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรค หรือสารเคมีต่าง ๆ อยู่
  • นำเข้าแบบผิดกฎหมาย
ฟิลเลอร์ปลอม มักมีการนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย จึงไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ และไม่ได้รับการรับรองความปลอดภัยจาก อย.
  • กระบวนการผลิตไม่สะอาด
ฟิลเลอร์ปลอม อาจมีการผลิตในสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ กระบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความสะอาด ทำให้มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส หรือสารเคมีอันตรายต่าง ๆ ได้สูง
  • หลังฉีดแล้วแก้ไขยาก
เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอม ไม่สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ ต้องทำการผ่าตัด หรือขูดออกเท่านั้น ซึ่งการแก้ไขต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง
  • เกิดอันตรายในบริเวณที่ฉีด
เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอม มีส่วนผสมที่ไม่บริสุทธิ์ หรือมีสารปนเปื้อนต่าง ๆ อยู่มากมาย อาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรง ติดเชื้อ หรือเกิดเนื้อตายได้  

อันตรายจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอม

การฉีดฟิลเลอร์ปลอม เป็นการเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมมักผลิตจากสารที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่ผ่านการรับรองจากอย. ทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงมากมาย ได้แก่
  • ฟิลเลอร์อักเสบ และติดเชื้อ
เนื่องจากสารที่ใช้ในฟิลเลอร์ปลอม อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือสารเคมี ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อขั้นรุนแรง จนทำให้บริเวณที่ฉีดมีอาการบวมแดง และเป็นหนอง ซึ่งในบางกรณีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เนื้อตาย หรือตาบอดได้
  • ฟิลเลอร์เป็นก้อน
การฉีดฟิลเลอร์ปลอม สามารถทำให้เกิดเป็นก้อนแข็งในบริเวณที่ฉีด เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมมีสารที่ไม่สามารถสลายตัวได้ตามธรรมชาติ เช่น ซิลิโคนเหลว หรือพาราฟิน ซึ่งเมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายแล้ว อาจทำให้เกิดการสะสม และจับตัวกันเป็นก้อนแข็งในผิวหนังได้
  • ฟิลเลอร์เคลื่อนที่ 
เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอม มักใช้สารในการผลิตที่มีความหนืดต่ำ และไม่มีความคงตัว  เมื่อมีการเคลื่อนไหว จึงทำให้ฟิลเลอร์สามารถไหล หรือเคลื่อนที่ไปยังบริเวณอื่นได้ง่าย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงอันตรายได้
  • พังผืดเกาะ 
เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอม ใช้สารที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีความบริสุทธิ์ในการผลิต ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ซึ่งเมื่อฉีดฟิลเลอร์ปลอมเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสม และสร้างพังผืดในชั้นผิวหนังได้
  • หลอดเลือดอุดตัน
เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมมีการเคลื่อนที่ ทำให้ฟิลเลอร์ปลอมไหลเข้าไปอุดตันในหลอดเลือด เมื่อหลอดเลือดอุดตัน เลือดจะไม่สามารถไหลไปเลี้ยงเซลล์ ทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน และเกิดเป็นเนื้อตายได้ในที่สุด รวมถึง อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้อีกด้วย
  • ไม่สามารถสลายได้
เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมผลิตจากสารสังเคราะห์ อย่างเช่น ซิลิโคนเหลว หรือพาราฟิน ซึ่งเป็นสารที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ จึงตกค้างอยู่ในชั้นผิว ต้องทำการผ่าตัด หรือขูดออกเท่านั้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวได้  

ฟิลเลอร์ปลอม สังเกตได้อย่างไร?

  • กล่องฟิลเลอร์ปลอมไม่สมบูรณ์ มักมีรอยเปื้อน รอยขีดข่วน บุบชำรุด หรือถูกแกะมาแล้ว ตัวอักษรและโลโก้บนกล่องไม่ชัดเจน มีการพิมพ์ผิดพลาด ไ่ม่เหมือนของแท้
  • ฟิลเลอร์ปลอม มีการนำเข้าและจัดจำหน่ายแบบผิดกฎหมาย ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยจาก อย.
  • ฟิลเลอร์ปลอม ไม่มีการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม อาจใช้อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ทำให้โครงสร้างฟิลเลอร์เปลี่ยนแปลง จนเกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรงได้
  • ฟิลเลอร์ปลอม มักมีราคาที่ถูกผิดปกติ เมื่อเทียบกับราคาในท้องตลาด เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่ำ ส่วนผสมไม่มีคุณภาพ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา ทำให้ฟิลเลอร์ปลอมมีราคาที่ถูกมากกว่าปกติได้
  • ฟิลเลอร์ปลอม ส่วนใหญ่พบได้ในคลินิกเถื่อน คลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน มักฉีดโดยแพทย์ที่ไม่มีความรู้ ความชำนาญเพียงพอ หรือหมอกระเป๋านั่นเอง 
 
เปรียบเทียบฟิลเลอร์แท้กับฟิลเลอร์ปลอม

เปรียบเทียบฟิลเลอร์แท้กับฟิลเลอร์ปลอม

ฟิลเลอร์แท้ กับ ฟิลเลอร์ปลอม ต่างกันอย่างไร?

ฟิลเลอร์แท้ 
  • ฟิลเลอร์แท้ มีส่วนประกอบของสารไฮยาลูรอนิก แอซิดเป็นหลัก ซึ่งเป็นสารที่พบได้ตามธรรมชาติ ผลิตขึ้นมาเพื่อเลียนแบบสารในร่างกายของเรา จึงมีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย
  • ฟิลเลอร์แท้ เป็นฟิลเลอร์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ และความปลอดภัยจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์ความงามทั่วโลก มีงานวิจัยรองรับเป็นจำนวนมาก
  • ฟิลเลอร์แท้ มีระยะเวลาในการคงอยู่ในร่างกายประมาณ 6 – 18 เดือน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อฟิลเลอร์ และรุ่นที่เลือกฉีดในแต่ละบริเวณ
  • หากฉีดฟิลเลอร์แท้ไปแล้วต้องการแก้ไข หรือไม่พอใจในผลลัพธ์หลังฉีด สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ทันที ซึ่งยาตัวนี้จะเข้าไปย่อยสลายสารไฮยาลูรอนิก ทำให้ฟิลเลอร์ค่อย ๆ สลายตัวไปตามธรรมชาติ ไม่ทิ้งสารตกค้างในร่างกาย
ฟิลเลอร์ปลอม
  • ฟิลเลอร์ปลอม มักมีส่วนประกอบของซิลิโคนเหลว พาราฟิน หรือสารอื่น ๆ ที่ไม่สามารถสลายเองได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดการทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกาย จนส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงอันตรายต่าง ๆ มากมาย
  • ฟิลเลอร์ปลอม เป็นฟิลเลอร์ที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ และความปลอดภัยจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงไม่ควรนำมาฉีดเข้าสู่ผิวหน้าอย่างยิ่ง
  • เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมไม่สามารถสลายตัวได้เอง จึงทำให้คงอยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานานหลายปี หรืออาจตลอดชีวิต ซึ่งส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาว ทั้งฟิลเลอร์ไหลมากองรวมกันเป็นก้อน เกิดพังผืด หรือเกิดเนื้อตายในบริเวณที่ฉีดได้
  • หากฉีดฟิลเลอร์ปลอมไปแล้วต้องการแก้ไข หรือนำออก ต้องทำการขูดออก หรือผ่าตัดเท่านั้น ไม่สามารถฉีดสลายได้เหมือนฟิลเลอร์แท้
 

ฟิลเลอร์ปลอม กับ ฟิลเลอร์หิ้ว ต่างกันอย่างไร?

ฟิลเลอร์ปลอม
  • ฟิลเลอร์ปลอม เป็นฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจาก อย. ซึ่งถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเลียนแบบฟิลเลอร์แท้ โดยการใช้ซิลิโคนเหลว หรือพาราฟินเป็นส่วนประกอบ ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่มีคุณภาพ และไม่สะอาด ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง 
ฟิลเลอร์หิ้ว
  • ฟิลเลอร์หิ้ว ส่วนใหญ่มักเป็นฟิลเลอร์แท้ที่ผลิตจากสารไฮยาลูรอนิก แอซิด แต่มีการลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศอย่างผิดกฏหมาย โดยไม่ได้ผ่านบริษัทตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ซึ่งมักมีราคาที่ถูกกว่าปกติ แต่ไม่สามารถรับประกันคุณภาพและความปลอดภัยได้ เนื่องจากอุณหภูมิในการเก็บรักษาและการขนส่งที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ฟิลเลอร์เสื่อมสภาพ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง หรืออาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค สิ่งสกปรกต่าง ๆ อีกทั้ง ยังมีความเสี่ยงที่จะเจอฟิลเลอร์ปลอมปะปนอยู่ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้
 

ฉีดฟิลเลอร์ปลอมไปแล้ว แก้ไขได้อย่างไร?

เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอม มีส่วนประกอบของซิลิโคนเหลว หรือพาราฟิน ซึ่งการแก้ไขปัญหานั้น จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมินและพิจารณาอย่างละเอียด โดยทั่วไปแล้ววิธีการแก้ไขจะมีอยู่ 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่
  • ขูดฟิลเลอร์
การขูดฟิลเลอร์ เหมาะสำหรับฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถฉีดสลายได้ เป็นฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มีส่วนประกอบของสารไฮยาลูรอนิก แอซิด ไม่ได้ผ่านการรับรองจาก อย. โดยเฉพาะฟิลเลอร์ปลอม ที่ผลิตจากสารที่ไม่ได้มาตรฐาน ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้เอง ทำให้เกิดการสะสมเป็นก้อน และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผลข้างเคียง เช่น การอักเสบ การติดเชื้อ หรือการเกิดพังผืดในบริเวณที่ฉีด โดยแพทย์จะต้องใช้วิธีการขูดออก ซึ่งสามารถขูดฟิลเลอร์ออกมาได้แค่บางส่วน ประมาณ 60 – 70% เท่านั้น ไม่สามารถขูดออกได้ทั้งหมด
  • ผ่าตัดฟิลเลอร์
การผ่าตัดฟิลเลอร์ เหมาะสำหรับฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถสลายตัว และไม่สามารถขูดออกได้ โดยเฉพาะในกรณีฟิลเลอร์ปลอม ที่มักจับตัวกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ และแข็งมาก ผลิตจากสารที่ไม่ได้มาตรฐานอย่าง ซิลิโคนเหลว หรือพาราฟิน ถูกฉีดเข้าสู่ร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนมีพังผืดเกาะ ซึ่งจะต้องทำการผ่าตัดเลาะสารพวกนี้ออกมาเท่านั้น โดยแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนเส้นเลือด เส้นประสาท ซึ่งส่งผลต่อการขยับใบหน้า จึงมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ และเกิดภาวะแทรกซ้อน อีกทั้ง การผ่าตัดฟิลเลอร์ปลอมนั้น ไม่สามารถนำฟิลเลอร์ปลอมออกมาได้ทั้งหมด จะนำฟิลเลอร์ปลอมออกมาได้เพียงแค่บางส่วน  

วิธีสังเกตฟิลเลอร์แท้ 

วิธีสังเกตฟิลเลอร์แท้มีความสำคัญอย่างมาก เพื่อป้องกัน และหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของฟิลเลอร์ปลอม โดยสามารถสังเกตได้จากหลายจุด ดังนี้
  • สังเกตบรรจุภัณฑ์ หรือดูที่กล่องฟิลเลอร์ ซึ่งจะต้องถูกปิดสนิท ไม่มีรอยเปิด รอยบุบ หรือรอยฉีกขาด โลโก้ยี่ห้อมีความชัดเจน ไม่เบลอ ไม่มีตัวอักษรใดตกหล่น
  • สังเกตฉลากที่ติดอยู่บนกล่องฟิลเลอร์ ซึ่งจะต้องมีฉลากภาษาไทยที่ระบุชื่อผลิตภัณฑ์, ส่วนประกอบ, เลขทะเบียน อย., วันผลิต และวันหมดอายุอย่างชัดเจน
  • สังเกตเลข Lot. ต้องตรงกันทุกจุด มีการระบุเลช Lot. อย่างชัดเจน ทั้งบนกล่องฟิลเลอร์ หลอด และสติ๊กเกอร์ 
  • สังเกต QR Code บนฟิลเลอร์บางยี่ห้อ ซึ่งฟิลเลอร์บางยี่ห้อสามารถสแกน QR Code เพื่อตรวจสอบได้ว่า ฟิลเลอร์ที่ฉีดเป็นของแท้หรือไม่ เช่น ฟิลเลอร์ Restylane  
  • สามารถโทรตรวจสอบ กับบริษัทผู้จำหน่ายฟิลเลอร์โดยตรงได้
 

ฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อ สามารถตรวจสอบได้อย่างไร?

Juvederm ฟิลเลอร์สัญชาติอเมริกา

  • กล่องฟิลเลอร์ปิดสนิท ไม่เคยถูกแกะใช้งานมาก่อน
  • มีชื่อยี่ห้อ และรุ่นระบุที่กล่องอย่างถูกต้อง ชัดเจน ไม่มีตัวอักษรใดผิดเพี้ยน
  • มีเลขทะเบียน อย. และเอกสารกำกับภาษาไทยอย่างชัดเจน
  • เลข Lot. ตรงกันทั้ง 4 จุด ได้แก่ เลข Lot. ข้างกล่องฟิลเลอร์, เลข Lot. บนซอง, เลข Lot. บนสติกเกอร์ และเลข Lot. บนหลอดฟิลเลอร์
  • สามารถโทรตรวจสอบ เลข Lot. และคลินิกที่รับบริการได้ที่บริษัท Allergan Thailand

Restylane ฟิลเลอร์สัญชาติสวีเดน

  • กล่องฟิลเลอร์สมบูรณ์ ปิดสนิท ไม่มีการเปิดออก
  • มีเลขทะเบียนจาก อย. และเอกสารเกี่ยวกับฟิลเลอร์เป็นภาษาไทยอย่างชัดเจน
  • มีสติ๊กเกอร์โมโนแกรมบนกล่อง หาทำการลอกออก จะเห็นคำว่า “VOID” ติดไว้
  • มี QR Code สแกนข้างกล่อง โดยสามารถสแกนผ่านแอปพลิเคชัน eZTracker : Safety in Each Scan เพื่อตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ หากเป็นฟิลเลอร์แท้จะแสดงหน้าจอสีเขียว และมีข้อมูลขึ้นอย่างถูกต้อง
  • เลข Lot. ตรงกันทั้ง 3 จุด ได้แก่ เลข Lot. ข้างกล่องฟิลเลอร์, เลข Lot. บนหลอด และ เลข Lot. บนสติกเกอร์
  • สามารถโทรตรวจสอบเลข Lot. และคลินิกที่รับบริการได้ที่บริษัท Galderma Thailand

Belotero ฟิลเลอร์สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์

  • กล่องฟิลเลอร์อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บุบ ไม่ชำรุด หรือไม่มีการเปิดใช้งานมาก่อน
  • มีเลขทะเบียน อย. และเอกสารกำกับภาษาไทยระบุไว้อย่างชัดเจน
  • เลข Lot. ตรงกันทั้ง 3 จุด ได้แก่ เลข Lot. ข้างกล่องฟิลเลอร์, เลข Lot. บนหลอด และเลข Lot. บนสติกเกอร์
  • สามารถโทรตรวจสอบเลข Lot. และคลินิกที่รับบริการได้ที่บริษัท เมิร์ซ เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย)

Neauvia ฟิลเลอร์สัญชาติอิตาลี

  • กล่องฟิลเลอร์ปิดสนิท ไม่มีการเปิดออก ไม่มีรอยฉีกขาด หรือถูกใช้งานมาก่อน
  • มีเลขทะเบียน อย. และเอกสารกกำกับภาษาไทยอย่างชัดเจน
  • มี QR Code สแกนหน้ากล่องฟิลเลอร์ สามารถลอกสติกเกอร์ด้านบนออก แล้วจะเห็น QR Code ด้านใน ซึ่งสามารถสแกน QR Code เพื่อตรวจสอบได้ว่า ฟิลเลอร์ที่ฉีดเป็นของแท้หรือไม่ หากเป็นของแท้ หน้าจอจะแสดงรูปภาพ และรายละเอียดของผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้อง
  • เลข Lot. ตรงกันทั้ง 3 จุด ได้แก่ เลข Lot. บนกล่องฟิลเลอร์, เลข Lot. บนหลอด และเลข Lot. บนสติกเกอร์
  • สามารถโทรตรวจสอบเลข Lot. และคลินิกที่รับบริการได้ที่บริษัท Ampex Aesthetics

Definisse ฟิลเลอร์สัญชาติอิตาลี

  • กล่องฟิลเลอร์สมบูรณ์ รอยประด้านข้างปิดสนิท ไม่มีการฉีกขาด
  • มีเลขทะเบียนอย. และเอกสารกำกับภาษาไทยอย่างชัดเจน
  • มี Label Sticker สามารถลอกออกได้ เพื่อนำไปติด OPD Card
  • เลข Lot. ตรงกันทั้ง 3 จุด ได้แก่ เลข Lot. หลังกล่องฟิลเลอร์, เลข Lot. ข้างกล่องฟิลเลอร์ และเลข Lot. บนหลอด
  • สามารถโทรตรวจสอบเลข Lot. และคลินิกที่รับบริการได้ที่บริษัท A. Menarini Thailand 

Volifil ฟิลเลอร์สัญชาติเกาหลี

  • กล่องฟิลเลอร์สมบูรณ์ ไม่มีการเปิดใช้มาก่อน
  • มีเลขทะเบียน อย. และเอกสารกำกับภาษาไทยระบุไว้อย่างชัดเจน
  • มี QR Code สามารถสแกนเพื่อตรวจสอบได้ว่า ฟิลเลอร์ที่ใช้เป็นของแท้หรือไม่
  • เลข Lot. ตรงกันทั้ง 3 จุด ได้แก่ เลข Lot. บนกล่องฟิลเลอร์, เลข Lot. บนหลอด และเลข Lot. บนสติกเกอร์
  จะเห็นได้ชัดเลยว่า การฉีดฟิลเลอร์ปลอมมีความอันตรายอย่างมาก เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมไม่สามารถสลายได้เอง และมีผลข้างเคียงตามมาอีกมากมาย ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายในะระยะยาว อีกทั้ง ผลลัพธ์ที่ได้จากการฉีดฟิลเลอร์ปลอมก็ไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ หรือเกิดเนื้อตายในบริเวณที่ฉีดได้ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งการเลือกคลินิกที่ให้บริการ แพทย์ที่ทำการฉีด รวมถึง เลือกยี่ห้อฟิลเลอร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงอันตรายต่อร่างกาย   สำหรับใครที่สนใจฉีดฟิลเลอร์อย่างปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงเจอฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน สามารถเข้ามาปรึกษากับ รมย์รวินท์คลินิก ได้ทุกสาขา เราใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ได้รับการรับรองจาก อย. ไทย ทุกยี่ห้อ ซึ่งสามารถตรวจสอบ และแกะกล่องฟิลเลอร์ให้ดูต่อหน้าได้ พร้อมด้วยทีมแพทย์ที่มีความรู้ ความชำนาญ เข้าใจโครงสร้างใบหน้าอย่างละเอียด สามารถประเมินและออกแบบรูปหน้า ให้เข้ากับแต่ละบุคคลได้อย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อให้คุณมีใบหน้าที่อ่อนเยาว์อย่างปลอดภัย ห่างไกลผลข้างเคียง  

Related Posts