ฝ้ากระฝังลึก ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวที่ลดความมั่นใจใครหลาย ๆ คนไปมาก สีผิวที่ไม่สม่ำเสมอนี้สามารถแก้ไขได้ด้วย “เลเซอร์ฝ้า” เพื่อผลลัพธ์ที่ชัดเจน ซึ่งเลเซอร์ฝ้ากระถือเป็นหัตถการที่ได้รับความนิยมเพื่อใช้รักษาฝ้า แต่อาจยังมีหลายคนที่สงสัยว่าเลเซอร์ฝ้าดีไหม หรือหลังเลเซอร์ฝ้าเป็นอย่างไร?
ในบทความนี้ รมย์รวินท์ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเลเซอร์ฝ้าเพื่อที่จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำหัตถการเลเซอร์ฝ้า รวมถึงมีคำตอบสำหรับคำถามที่พบบ่อยเพื่อคลายข้อสงสัยให้กับผู้ที่สนใจในการรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์ค่ะ
เลเซอร์ฝ้า (Melasma) คืออะไร
เลเซอร์ฝ้า คือหัตถการที่ช่วยในการรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำด้วยพลังงานเลเซอร์ ทำให้สีผิวสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันได้มีเลเซอร์หลากหลายชนิดที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การรักษาฝ้า กระทุกสภาพผิว โดยก่อนที่จะลงลึกเรื่องเลเซอร์ฝ้า เราควรรู้จักกับฝ้า กระ หรือจุดด่างดำกันก่อนค่ะ
สาเหตุของปัญหา ฝ้า กระ จุดด่างดำ
ฝ้า (Melasma) คือจุดสีเข้มบนผิวหนังที่เกิดจากเม็ดสีใต้ชั้นผิวสะสมเป็นปริมาณมากหรือทำงานผิดปกติ โดยหน้าที่ของเมลานินคือดูดซับรังสี UV จากแสงแดด ดังนั้นจึงทำให้เกิดเป็นรอยปื้นสีน้ำตาลที่สามารถกระจายวงกว้างมากยิ่งขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นรอยฝ้า กระ จุดด่างดำนั้น อาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้
- การออกแดด
ผิวของเราจะได้รับรังสี UV ซึ่งจะถูกดูดซับโดยเมลานินหรือเม็ดสีใต้ชั้นผิว ทำให้เม็ดสีเข้มมากขึ้นจนกลายเป็นจุดเข้ม ซึ่งรังสีที่ทำให้เกิดฝ้าคือ UVA ฉะนั้นจึงควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงเพื่อป้องกันผิวจากรังสี UV ค่ะ - พันธุกรรม
ชาวเอเชียมีโอกาสเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำได้มากกว่าชาวยุโรปหรือชาวอเมริกัน เนื่องจากมีพันธุกรรมด้านสีผิวที่แตกต่างกัน ซึ่งชาวเอเชียก็อาจถูกกระตุ้นจากพันธุกรรมจนเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำตั้งแต่อายุน้อยได้ค่ะ - ฮอร์โมน
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ผู้ที่ต้องทานยาคุมกำเนิด, ฉีดยาคุมกำเนิด หรืออยู่ในภาวะตั้งครรภ์ เป็นต้น - Visible light (VL)
แสงที่ตาสามารถมองเห็น หรือ Visible light ก็สามารถทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน เนื่องจากแสงสีฟ้า (Blue Light) มีรังสีที่แทรกซึมลงใต้ผิวได้ลึกกว่ารังสี UVA ในแดด กระตุ้นให้เกิดฝ้า กระ และจุดด่างดำในชั้นผิวค่ะ
วิธีรักษาฝ้า
วิธีรักษาฝ้ามีทั้งวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตนเองและต้องทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ยังไม่มีวิธีที่สามารถรักษาฝ้าให้หายขาดได้ เนื่องจากฝ้าสามารถกลับมาเกิดขึ้นได้อีก ซึ่งวิธีรักษาฝ้าเบื้องต้นมีดังต่อไปนี้
- ทายา
- กินยา
- ทาครีมกันแดด
- รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
- เลเซอร์ฝ้า
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Laser ฝ้าดีอย่างไร?
หลายคนที่สงสัยว่าเลเซอร์ฝ้าดีไหม หรือ เลเซอร์ฝ้าดีอย่างไร? เราได้รวบรวมผลลัพธ์และข้อดีจากการทำเลเซอร์กระฝ้ามาไว้แล้ว ดังนี้
- รักษาฝ้าได้โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดหรือฉีดยา เช่น Rejuran หรืออื่น ๆ ทำให้ไม่มีแผลเป็น
- เลเซอร์ฝ้าสามารถกำจัดเม็ดสีได้ตรงจุด
- ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ชั้นผิว
- ใช้เวลาเห็นผลได้รวดเร็วกว่าวิธีอื่น ๆ
หลักการทำงานของเครื่องเลเซอร์ฝ้า กระลึก
หลักการทำงานของเลเซอร์ฝ้าคือการใช้พลังงานเลเซอร์ชนิดไม่มีแผล หรือ Non-Ablative Laser ซึ่งเน้นการใช้เลเซอร์ประเภทที่สามารถรักษารอยดำหรือรอยแดงใต้ชั้นผิวได้ ทำให้ผิวบริเวณที่รักษาด้วยเลเซอร์ฝ้ามีสีจางลงจนสม่ำเสมอกับผิวบริเวณอื่น รวมถึงกระจ่างใสและกระชับมากยิ่งขึ้น ซึ่งชนิดของเลเซอร์ฝ้าที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายตัวด้วยกัน
โดยการทำเลเซอร์ฝ้าควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีประสบการณ์ รมย์รวินท์คลินิกมีบริการรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้การดูแลทุกคนที่กำลังสนใจในการทำเลเซอร์ฝ้าเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างดีที่สุดค่ะ
ทำเลเซอร์ฝ้า กระ จุดด่างดำดีไหม?
หากสงสัยว่าทำเลเซอร์ฝ้าดีไหม ทำแล้วจะได้ผลลัพธ์ตามที่หวังหรือไม่ ควรรู้ก่อนว่าตัวเองเป็นฝ้าประเภทใด เนื่องจากการรักษาฝ้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ซึ่งชนิดของฝ้ามีดังนี้
- ฝ้าตื้น
- ฝ้าลึก
- ฝ้าแดด
- ฝ้าเลือด
- ฝ้าแบบผสม
ซึ่งฝ้าบางประเภทสามารถหายได้เพียงแค่ทำการทายา หรือฉีดวิตามิน เช่น การฉีดชาแนล ซึ่งเป็นหนึ่งในหัตถการเมโสหน้าใส หากสนใจรักษาฝ้าด้วยวิธีอื่น ๆ ก็สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่รมย์รวินท์คลินิกเพื่อที่จะได้ผลลัพธ์ตรงตามความคาดหวังและปลอดภัยค่ะ
เครื่องเลเซอร์ฝ้ามีแบบไหนบ้าง
เทคโนโลยีเครื่องเลเซอร์ฝ้าที่พัฒนาขึ้นมาในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน เราจึงได้รวบรวมข้อมูลเครื่องเลเซอร์ฝ้าที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมาหลัก ๆ 3 เครื่องด้วยกัน ดังนี้
1. Dual Yellow Laser
เป็นเลเซอร์ฝ้าที่ผสานพลังงานระหว่างคลื่นแสงสีเหลืองและคลื่นแสงสีเขียวเข้าด้วยกันสามารถรักษารอยจุดด่างดำ เช่น รอยสิว, กระ, ฝ้า และสีผิวที่ไม่สม่ำเสมออื่น ๆ
- เลเซอร์แสงสีเหลือง
มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 578 นาโนเมตร สามารถช่วยรักษารอยที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือด เช่น รอยแดงจากสิว, ปานแดง หรือเส้นเลือดขอด เป็นต้น - เลเซอร์แสงสีเขียว
มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 511 นาโนเมตร สามารถช่วยรักษารอยที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีใต้ชั้นผิว เช่น รอยดำ, ฝ้า, กระ หรือจุดด่างดำต่าง ๆ เป็นต้น
2. Q-Switch Laser
เป็นเลเซอร์ฝ้าที่มีเครื่องพลังงานสูงช่วงแคบ ทำให้สามารถรักษารอยดำได้อย่างตรงจุดโดยที่ไม่ทำร้ายผิวบริเวณรอบข้าง โดย Q-Switch Laser นี้สามารถปล่อยพลังงานเลเซอร์ได้ทั้งหมด 2 ช่วง คือ ช่วงความยาวคลื่น 532 นาโนเมตรและช่วงความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร ทำให้สามารถรักษาได้ทั้งรอยดำและรอยแดงค่ะ
ความยาวคลื่นที่ใช้ในการทำหัตถการเลเซอร์ฝ้าคือช่วงความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นที่เหมาะกับการรักษาปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีใต้ชั้นผิว เช่น ฝ้า, กระ, รอยสิว รวมถึงรอยสักที่มีสีดำอีกด้วย
3. Picosecond Laser
Picosecond หรือ Pico Laser คือเลเซอร์ฝ้าที่ปล่อยพลังงานความถี่สูงด้วยความเร็ว 1 ต่อล้านล้านวินาที ทำให้ความร้อนไม่สะสมใต้ชั้นผิว โอกาสเกิดผลข้างเคียงผิวไหม้น้อย ซึ่ง Pico Laser สามารถปล่อยความยาวคลื่นได้ 3 ระดับ คือความยาวคลื่นที่ 532, 670 และ 1,064 นาโนเมตรตามความเหมาะสมของสภาพผิวและปัญหาผิว ต่างกับ Q-Switch Laser ที่ปล่อยได้เพียง 2 ระดับค่ะ
เตรียมตัวก่อนเลเซอร์ฝ้ากระอย่างไร
ก่อนการทำเลเซอร์ฝ้า เราควรเตรียมพร้อมตัวเองเพื่อลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียง รวมถึงให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างตรงตามใจมากที่สุด โดยข้อปฏิบัติต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการออกแดดโดยตรงก่อนทำเลเซอร์ฝ้าประมาณ 4-6 สัปดาห์
- ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดดที่สามารถกระตุ้นอาการอักเสบได้
- งดการใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของกรด เช่น เรตินอยด์, กรดผลไม้ และ BHA เนื่องจากอาจทำให้ผิวบางและง่ายต่อการแพ้
- ดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อทำให้ผิวชุ่มชื้น สามารถช่วยลดความเจ็บแสบระหว่างทำเลเซอร์ฝ้า
- ศึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการออกแบบการรักษาให้ได้ผลลัพธ์ออกมาปลอดภัยและตรงตามใจมากที่สุด
ขั้นตอนการเลเซอร์ฝ้า กระลึก จุดด่างดำ
ขั้นตอนในการทำเลเซอร์ฝ้ามีดังต่อไปนี้
- แพทย์จะทำการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ และทำการประเมินสภาพผิวเพื่อวางแผนการรักษาด้วยเลเซอร์ฝ้าให้เหมาะสมที่สุด
- ทำความสะอาดสิ่งสกปรกบนผิวหน้าหรือบริเวณที่ต้องการทำหัตถการ
- ใช้แว่นตากันแสงเพื่อปกป้องดวงตาจากแสงเลเซอร์ฝ้า
- ประคบเจลเย็นเพื่อลดความเจ็บระหว่างทำหัตถการ
- แพทย์จะทำการปรับช่วงความยาวคลื่นให้เหมาะสมกับปัญหาฝ้าที่ต้องการรักษา และทำการยิงพลังงานลงใต้ชั้นผิว
- หลังเลเซอร์ฝ้าจะทำการทาครีมเพื่อบรรเทาอาการบวมแดง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังเลเซอร์ฝ้า
แม้ว่าการเลเซอร์ฝ้าจะเป็นวิธีการรักษาฝ้าที่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว แต่ก็อาจมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงเบื้องต้นดังต่อไปนี้ได้
- มีอาการบวมแดงหลังจากการทำ แต่สามารถหาได้เองภายใน 24 ชั่วโมง
- หากใช้พลังงานสูงเกินไปอาจเกิดอาการผิวไหม้ได้
- ผิวในบริเวณที่ทำเลเซอร์ฝ้าอาจมีสีเข้มขึ้น โดยจะจางลงไปได้เอง
หากมีอาการที่รุนแรงหรือนอกเหนือจากอาการข้างต้น ควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะสามารถทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้อง แพทย์เฉพาะทางจากรมย์รวินท์คลินิกพร้อมให้คำปรึกษาหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมค่ะ
หลังเลเซอร์ฝ้าควรดูแลตนเองอย่างไร
เราควรดูแลตนเองหลังการทำเลเซอร์ฝ้า เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามแผนการรักษาและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ข้อปฏิบัติตนหลังจากทำเลเซอร์ฝ้ามีดังต่อไปนี้
- งดการถูหรือเกาใบหน้าแรง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวเกิดแผล
- งดการออกแดดโดยตรงและต้องทากันแดดที่มี SPF สูงเพื่อป้องกันผิวไม่ให้เกิดฝ้าซ้ำหลังจากทำเลเซอร์ฝ้า
- ทาครีมหรือมอยเจอร์ไรเซอร์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
- งดการอาบน้ำร้อนหรือน้ำอุ่นเพื่อไม่ให้ผิวแห้งตึงหลังทำเลเซอร์ฝ้า
- สามารถประคบเย็นหรือทานยาหากเกิดอาการปวดได้
Laser ฝ้าที่ไหนดี?
หลายคนอาจสงสัยว่าทำเลเซอร์ฝ้าที่ไหนดี หรือมีวิธีการเลือกสถานพยาบาลเพื่อทำเลเซอร์ฝ้าอย่างไร เราจึงได้รวบรวมวิธีการเลือกคลินิกเพื่อทำเลเซอร์ฝ้าเบื้องต้นเอาไว้ดังนี้
- ควรเลือกสถานพยาบาลที่มีใบรับรองและขออนุญาตในการเปิดสถานพยาบาลอย่างถูกต้องค่ะ
- มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางคอยให้คำปรึกษาและทำหัตถการเลเซอร์ฝ้า
- ใช้เครื่องมือของแท้ที่สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของบริษัทเครื่องมือนั้น ๆ หรือตรวจสอบด้วยการสแกน QR Code ที่ตัวเครื่องค่ะ
- สามารถเดินทางได้ง่าย สะดวกต่อผู้เข้ารับบริการ
- มีช่องทางการติดต่อที่ชัดเจน ทำให้ผู้ที่ต้องการเข้ารับบริการสามารถสอบถามได้อย่างรวดเร็ว
รีวิวเลเซอร์ฝ้า กระลึก
คำถามที่พบบ่อย
1. เลเซอร์ฝ้าเจ็บไหม?
ระหว่างการทำหัตถการเลเซอร์ฝ้าได้มีการประคบบริเวณที่ทำด้วยเจลเย็น ทำให้อาจรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยถึงไม่เจ็บเลย หลังจากการทำอาจมีความรู้สึกปวดบริเวณที่ทำ แต่จะสามารถหายได้เองค่ะ
2. ฝ้าจะเกิดขึ้นใหม่หลังทำเลเซอร์หรือเปล่า?
เนื่องจากฝ้าไม่สามารถรักษาให้หายขาด หลังจากการทำเลเซอร์ฝ้าแล้วอาจมีฝ้าเกิดขึ้นได้ใหม่ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงการออกแดดโดยตรงและทากันแดดที่มีค่า SPF สูง รวมถึงดูแลตัวเองอย่างระมัดระวังก็อาจทำให้ฝ้าเกิดขึ้นได้ช้ามาก ๆ ค่ะ
3. Pico Laser ต่างจาก Dual Yellow Laser อย่างไร?
Dual Yellow Laser เป็นการใช้แสงเลเซอร์สีเหลืองและสีเขียวผสานพลังงานกันแต่ Pico Laser จะเน้นการยิงพลังงานด้วยความเร็วมาก ๆ ทำให้ความร้อนไม่สะสมใต้ชั้นผิว รวมถึงเลเซอร์ฝ้าทั้ง 2 ชนิดยังใช้ช่วงความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน แต่สามารถรักษาฝ้าได้เห็นผลลัพธ์ชัดเจนทั้ง 2 เครื่องค่ะ
4. เลเซอร์ฝ้ากี่ครั้งเห็นผล?
การทำเลเซอร์ฝ้านั้นต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยอาจเว้นระยะประมาณ 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง และต้องทำตั้งแต่ 4 ครั้งถึงขึ้นไปถึงจะเริ่มเห็นผลอย่างชัดเจนค่ะ
5. เลเซอร์ฝ้าควรทำบ่อยแค่ไหน?
ในระยะแรกอาจต้องทำเลเซอร์ฝ้าประมาณ 1 ครั้งต่อ 2 สัปดาห์ และเมื่อเข้าสู่ระยะที่ฝ้าเริ่มจางลงอาจสามารถเว้นระยะระหว่างครั้งได้นานมากยิ่งขึ้นค่ะ
6. ทำไมรู้สึกแสบหลังเลเซอร์?
หลังจากการทำเลเซอร์ฝ้า ผิวจะมีความบางลง ทำให้เกิดการไวต่อแสงและแพ้ได้ง่าย ฉะนั้นจึงอาจทำให้รู้สึกแสบ รวมถึงมีอาการบวมแดงได้ค่ะ
เลเซอร์ฝ้ากับ Romrawin Clinic
เลเซอร์ฝ้าเป็นวิธีการรักษาฝ้าที่ใช้เวลารวดเร็ว รวมถึงเห็นผลลัพธ์หลังจากการทำได้อย่างชัดเจน โดยในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องเลเซอร์ฝ้าออกมาอย่างหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพผิวและปัญหาฝ้าแบบต่าง ๆ ค่ะ
ใครที่กำลังมีปัญหาฝ้า, กระ, จุดด่างดำ หรือรอยสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ และกำลังสนใจในการทำหัตถการเลเซอร์ฝ้า ทาง Romrawin Clinic มีแพทย์เฉพาะทางที่คอยให้คำแนะนำและปรึกษาปัญหาผิวแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตรงตามความต้องการของคนไข้มากที่สุด สามารถติดต่อสอบถามได้ตามช่องทางดังนี้
- Website : Romrawin Clinic
- Facebook : Romrawin Clinic
- Line : @Romrawinclinic
- Tel : 080-1539000
- คลิกเพื่อดูสาขาเพิ่มเติมที่นี่
อ้างอิงข้อมูล
Franca, K. (2022, November 11). What to Know Before Getting Melasma Laser Treatment.
https://www.verywellhealth.com/melasma-laser-treatment-5496391
Herndon, J. (2023, May 4). Understanding Melasma.
https://www.healthline.com/health/melasma